|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง เดิมมีสถานะเป็นสภาตำบล ได้เปลี่ยนแปลงจากสภาตำบลโผงเผง เมื่อวันที่ 23 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และได้รับอนุมัติให้ใช้ตราเครื่องหมายสัญลักษณ์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผงขึ้น |
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 9 ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 10.91 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,819 ไร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าโมกประมาณ 6 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอ่างทอง ประมาณ 19 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยรถยนต์ระยะทางประมาณ 89 กิโลเมตร |
|
|
|
|
|
ตราสัญลักษณ์ เป็นรูปเจดีย์มอญมีก้านใบขี้เหล็ก โอบสองข้างเจดีย์มอญ และมีสองมือจับกันอยู่ด้างล่าง ซึ่งรูปเจดีย์มอญในตราเครื่องหมายสัญลักษณ์ ให้ความหมายถึง เจดีย์มอญซึ่งตั้งสง่าอยู่ในบริเวณวัดพิจารณ์โสภณ ตำบลโผงเผง ที่มีซึ่งชาวมอญได้มาสร้างไว้นานกว่าร้อยปี |
|
|
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสวยงาม เป็นที่เคารพสักของชาวบ้านในตำบลโผงเผง รูปก้านใบขี้เหล็กในตราเครื่องหมายสัญลักษณ์ให้ความหมายถึง รูปก้านขี้เหล็กที่ปรากฏอยู่ในเหรียญหลวงพ่อพุทธรำพึงรูปไข่เนื้อทองแดงรุ่นแรกของวัดถนนสุทธาราม ตำบลโผงเผงเช่นกัน ซึ่งชาวตำบลโผงเผงให้ความเคารพบูชา ถือเครื่องรางของขลัง หรือพระเหรียญ (เหรียญพระพุทธ) ที่ศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงของตำบลโผงเผงและจังหวัดอ่างทองอีกด้วย ส่วนรูปสองมือจับกันในตราเครื่องหมายสัญลักษณ์ให้ความหมายถึง ความสามัคคี ร่วมมือ ร่วมใจ ของชาวบ้านตำบลโผงเผงทั้งสองฝั่งแม่น้ำที่มีต่อกัน ของสำคัญสามสิ่งนี้จึงได้มารวมกัน และปรากฏอยู่ในเครื่องหมายสัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง |
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ต.ป่าโมกอ.ป่าโมก จ.อ่างทอง |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ต.บางหัก และ ต.บางชะนี อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ต.กุฎี อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา |
|
|
|
    |
|
  |
|
|
|
สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นพื้นที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ลักษณะคล้ายอ่างกระทะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ประมาณ 5.0 เมตร ไม่มีภูเขา ป่าไม้ และแร่ธาตุ ดินเป็นดินเหนียวปนทราย พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำนาปลูกข้าว ทำไร่ และทำสวน มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านตามแนว เหนือ - ใต้ เป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร มีคลองโผงเผงอยู่ทางทิศใต้ของตำบล ไหลผ่านไปเชื่อมยังอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
|
|
|
|
|
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ |

 |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม |

 |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม |

 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ |
|
|
|
|
|
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูก ราษฎรส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกร ได้แก่ ทำนา ทำสวนทำไร่ และมีอาชีพทำอิฐ เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม ซึ่งทำให้ราษฎรมีรายได้พอมีพอกิน |
|
|
|
  |
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 3,265 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 1,595 คน |
คิดเป็นร้อยละ 48.85 |

 |
หญิง จำนวน 1,670 คน |
คิดเป็นร้อยละ 51.15 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,154 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 299.27 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านเลน |
78 |
82 |
160 |
52 |
|
 |
2 |
|
บ้านเลน |
118 |
116 |
234 |
80 |
 |
|
3 |
|
บ้านสวนยายส้ม |
241 |
237 |
478 |
173 |
|
 |
4 |
|
บ้านสวนยายส้ม |
162 |
151 |
313 |
113 |
 |
|
5 |
|
บ้านหมู่ตาล |
146 |
182 |
328 |
122 |
|
 |
6 |
|
บ้านน้ำวน |
251 |
274 |
525 |
190 |
 |
|
7 |
|
บ้านโผงเผง |
225 |
241 |
466 |
123 |
|
 |
8 |
|
บ้านโผงเผง |
169 |
160 |
329 |
141 |
 |
|
9 |
|
บ้านโรงม้า |
80 |
99 |
179 |
70 |
|
 |
10 |
|
บ้านโรงม้า |
125 |
128 |
253 |
90 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
1,595 |
1,670 |
3,265 |
1,154 |
 |
|
|
  |
|
|
|